เตือนการระบาดเพลี้ยจักจั่นมะม่วง

 เตือนการระบาดเพลี้ยจักจั่นมะม่วง



เพลี้ยจักจั่นมะม่วง - เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วง ในระยะที่มะม่วงกําลังแทงช่อ และเริ่มติดผลควรระวังเพลี้ยจักจั่น

มะม่วง (แมงกะอ้า) ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะทําลายใบอ่อน ซ่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน แต่ระยะที่ทํา ความเสียหายมากที่สุดคือ ระยะที่มะม่วงกําลังออกดอก โดยจะดูดน้ําเลี้ยงจากซ่อดอก ทําให้ช่อดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติด ผลเลย ขณะเดียวกันเพลี้ยจักจั่นจะถ่ายมูลมีลักษณะคล้าย น้ําหวานติดตามใบ ช่อดอกและผล ต่อมาจะเกิดราดําปกคลุม ซึ่งมีผลต่อการสังเคราะห์แสง


ลักษณะการทําลาย

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ําเลี้ยง จากใบอ่อน ยอดอ่อน ทุ่มตาใบ ตูมตาดอก ช่อดอกและผลอ่อน ในใบอ่อนทําให้ใบแคระแกรนใบอาจหลุดร่วง ตั้งแต่ยังเล็กในช่อดอก ทําให้ช่อดอกหงิกงอ ดอกร่วงไม่ติดผล หรือติดผลน้อย ดอกมะม่วงโดนทําลาย ในผลอ่อนทําให้ร่วงหล่นและขับถ่ายมูลที่เป็นน้ําหวานเปื้อนเปรอะตามช่อดอก และใบ ต่อมาจะเกิดราดําขึ้นปกคลุมช่อดอก และใบ

การป้องกันกําจัด

กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนําวิธีการป้องกันกําจัด ดังนี้ 

1. อนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติที่ช่วยทําลายเพลี้ยจักจันมะม่วง ได้แก่ ผีเสื้อ ตัวเบียน แมลงวันตาโต แตนเบียน เพลี้ยจักจั่นมะมาง 

2. ใช้น้ําฉีดล้างดอกและใบเพื่อลดปริมาณเพลี้ยจักจั่นและล้างคราบน้ําหวาน

แก้ปัญหาซ่อดอกและใบไม่ให้เกิดราดํา 

3. การใช้แสงไฟล่อจับทําลาย 

4. รมควันในสวนโดยใช้ใบไม้แห้งมาสมแล้วจุดไฟรม เพื่อไล่เพลี้ยจักจั่น 

5. ฉีดพ่นด้วยเชื้อราบิวเวอเรีย อัตรา เชื้อสด 1 กิโลกรัมต่อน้ํา 20 ลิตร ในเวลาเย็น 2-3 ครั้ง ห่าง กัน 5-7 วัน 

6. ถ้าหากพบระบาดรุนแรง ควรฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลง carbary (เซฟวิน 85% WP) อัตรา 60 กรัมต่อน้า 20 ลิตร ในระยะก่อนมะม่วงออกดอก 1 ครั้ง และเมื่อเริ่มแทงช่อดอก 1 ครั้ง เมื่อช่อดอกบานแล้วไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสร และหมั่นตรวจดูตามช่อดอก อยู่เรื่อย ๆ ถ้าพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยใน จํานวนมากกว่า 5 ตัวต่อซ่อ ควรพ่นอีก 1 - 2 ครั้ง ในระยะดอกตูม และก่อน ดอกบาน ถ้าหากมะม่วงติดผลขนาดหัวแม่มือ การพ่นสารฆ่าแมลงไม่มีความจําเป็น 

7. ในระยะที่ดอกมะม่วงกําลังบาน การพ่นน้ําเปล่าในตอนเช้าจะช่วยให้การติดมะม่วงดีขึ้น แต่ควรปรับหัวฉีดอย่าให้กระแทกดอกมะม่วงแรงเกินไป 

8. การพ่นสารฆ่าแมลงให้มีประสิทธิภาพควรพ่นให้ทั่วถึงทั้งลําต้น มิเช่นนั้นตัวเต็มวัยจะเคลื่อนย้ายหลบซ่อนไปยังบริเวณที่พ่นสารฆ่าแมลงไม่ถึง นอกจากนี้ยังต้องคํานึงถึงการปรับละอองฝอยหัวฉีด ระยะเวลาการพ่น 

9. ควรตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บผลผลิตเพราะจะช่วยลดที่หลบซ่อนของเพลี้ยจักจั่นลงและทําให้การพ่นสารฆ่าแมลงมี ประสิทธิภาพดีขึ้น





ขาว : นายพรประสิทธิ์ โสสวาง นักวิชาการสงเสริมการเกษตรชํานาญการ


ใหม่กว่า เก่ากว่า

نموذج الاتصال