เตือนการระบาดหนอนใยผัก (Diamondback moth)
หนอนใยผัก เป็นศัตรูพืชที่สําคัญชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับพืชผักโดยพืชอาหารเป็นผักตระกูลกะหล่ํา เช่น คะน้า กะหล่ําปลี กวางตุ้ง ฯลฯ พบการระบาดตามแหล่งปลูกผักได้ทั่วไป วงจรชีวิตของหนอนใยผักใช้เวลา 14-18 วัน มี 4 วัย สามารถสร้างใยได้ ดักแด้มีใยบางปกคลุมอยู่ตามใต้ใบพืช สามารถวางไข่หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ภายใน 24 ชม. เพศเมียวางไข่เฉลี่ย 50-400 ฟอง ปัจจุบันหนอนใยผักได้มีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้รวดเร็ว จึงต้องใช้วิธีการป้องกันกําจัดหลายๆ วิธีผสมผสานกัน ลักษณะอา
การทําลายของหนอนใยผัก
ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่ในวัยแรก จะเจาะกัดกินเนื้อเยื่อใบ และเมื่อเข้าสู่ระยะวัย 2 จะอยู่ใต้ใบและกัดกินผิวใบ ทําให้ใบเป็นรูโหว่ หนอนใยผักเริ่มระบาดในฤดูหนาว ระบาดมากในปลายฤดูหนาวต่อฤดูแล้ง ส่วนในฤดูฝนระบาดบ้าง แต่ไม่รุนแรง หากพบระบาดรุนแรงจะทําให้ผลผลิตเสียหาย หนอนชนิดนี้มีวงจรชีวิตสั้นและ พัฒนาสร้างความต้านทาน ต่อสารฆ่าแมลงได้หลายชนิด ดังนั้นจึงเป็นการยากต่อการป้องกันกําจัดด้วยการใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นเป็นประจํา เพียงอย่างเดียว
การป้องกันกําจัด
1.ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง ดักจับตัวเต็มวัย
2.ใช้กับดักแสงไฟ หลอดสีน้ําเงิน 20 วัตต์ ดักจับตัวเต็มวัย
3.ปลูกในโรงเรือนตาข่ายไนล่อนขนาด 16 mesh (256 ของตารางนิ้ว)
4.ควบคุมโดยชีววิธี ใช้แตนเบียนไข่ ทริคโคแกรมม่าอัตรา 60,000 ตัว/ไร่ ทุกๆ 10 วัน ทําลายระยะไข่ หรือใช้มวนพิฆาต/มวนเพชฌฆาต 1oo ตัว/ไร่ ใช้แบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส
อัตรา 60-80 มล./ น้ํา 20 ลิตร ทุกๆ 7 วัน ทําลายระฐะตัวหนอน :
5.เมื่อพบระบาดใช้ สปินโนแซด 12% SC อัตรา 20 / น้ํา 20 ลิตร หรืออินด็อกซาคาร์บ 15% SC น.
อัตรา 15 มล./ น้ํา 20 ลิตร ติดต่อกัน 2 ครั้ง ซองกัน 7 วัน ใช้สลับกับการใช้แบคทีเรีย เมื่อการระบาดลดลง
ข่าว : นายพรประสิทธิ์ โสสว่าง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ