เตือนการระบาดศัตรูพืชโรคใบด่างมันสำปะหลัง

เตือนการระบาดศัตรูพืชโรคใบด่างมันสำปะหลัง



โรคใบด่างมันสําปะหลัง (Cassava mosaic disease; CMD)


สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัส Sri Lankan Cassava mosaic virus (SLCMV)


การแพร่ระบาด

ใช้ท่อนพันธุ์จากต้นมันสําปะหลังที่เป็นโรคมาปลูก และมีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นแมลงพาหะนําโรค 


ลักษณะอาการ

• ต้นเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ท่อนพันธุ์ ที่เป็นโรค ยอดแตกใหม่แสดงอาการด่าง เหลืองชัดเจน ใบมีลักษณะด่างเหลือง หงิกงอ เสียรูปทรง ทั้งต้น ลําต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต มันสําปะหลังไม่สร้างหัว หรือหัวลีบเล็ก หากระบาดรุนแรงผลผลิต ลดลง 80 – 100 % - ต้นเป็นโรคที่เกิดจากแมลงหวี่ขาวยาสูบ นําเชื้อไวรัสจากต้นที่เป็นโรคมาติดต้นอื่น ลักษณะ ใบล่างจะปกติ ใบบริเวณยอดมีอาการด่าง เหลือง หงิกงอ เสียรูปทรง หากติดเชื้อตั้งแต่มันอายุน้อย ต้นจะแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต หัวมันลีบเล็ก หากติดเชื้อตอนมันอายุมากผลผลิตลดลง 30 - 40 % และหากไม่รีบกําจัดหรือนําไปทําท่อนพันธุ์ในปีต่อไป ผลผลิตอาจลดลง 80 - 100 %


การป้องกันโรค (กรณีไม่พบการระบาด)

1. ห้ามนําเข้าและสอดส่องการลักลอบนําเข้าท่อนพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์ของมันสําปะหลังจากต่างประเทศ หากพบเห็นการนําเข้าต้องรีบแจ้งสํานักงานเกษตรอําเภอ หรือสํานักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน

2. ใช้ท่อนพันธุ์ที่ทราบแหล่งที่มา ไม่เคยเป็นโรค หรือใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งพันธุ์ที่มีการรับรอง

3. หลีกเลี่ยงการปลูกพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค ควรเลือกปลูกพันธุ์ที่พบการระบาดของโรคน้อย เช่น เกษตรศาสตร์ 50 หรือ ระยอง 72

4. หมั่นสํารวจแปลงมันสําปะหลังของตนเองอย่างสม่ําเสมอ อย่างน้อยทุก 2 สัปดาห์


การป้องกันโรค (กรณีพบการระบาด)

1. เมื่อพบต้นเป็นโรคให้แจ้งสํานักงานเกษตรอําเภอ หรือสํานักงานเกษตรจังหวัดทราบทันที 2. หากพบต้นมันสําปะหลังที่แสดงอาการของโรคให้ดําเนินการทําลายตามขั้นตอน ดังนี้

2.1 วิธีฝังกลบ ให้ฝังกลบต้นมันสําปะหลังในหลุมที่ลึก ไม่น้อยกว่า 2 - 3 เมตร พ่นด้วยสารกําจัดวัชพืช อะมีทรีน 80% WG หรือซัลเฟนทราโซน 48% SC หรือไดยูรอน 80% WP อย่างใด อย่างหนึ่งกลบด้วยดินหนาไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร (กรณีเป็นโรค มากกว่า 10 ต้นต่อไร่ ให้ฝังกลบทั้งแปลง แต่ถ้าพบต้นที่เป็นโรค น้อยกว่า10 ต้นต่อไร่ให้ฝังกลบต้นข้างเคียงโดยรอบในรัศมี 2 เมตร)

2.2 วิธีใส่ถุง/กระสอบ /ถุงดํา กรณีที่ต้นมันสําปะหลังไม่ได้เป็น เป็นโรคทั้งไร่ ให้ถอนต้นมันสําปะหลังที่เป็นโรค และต้น ข้างเคียงโดยรอบในรัศมี 2 เมตร ตัดเป็นท่อนใส่ถุง / กระสอบ/ ถุงดํา มัดปากให้แน่นแล้วนําไปตากแดดไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือ จนกว่าต้นมันสําปะหลังจะตาย

2.3 วิธีบดสับ นําต้นมันสําปะหลังที่เป็นโรค เข้าเครื่องสับบดโดยปูพลาสติกรองพื้นให้เศษ ต้นที่ถูกทําลายอยู่บนพลาสติกคลุมกองด้วย พลาสติกตากแดดให้ ต้นมันสําปะหลังแห้งตาย


การปฏิบัติเพื่อกําจัดโรคใบด่างมันสําปะหลัง

1. สํารวจแปลงมันสําปะหลังของตนเองอย่างสม่ําเสมอหากพบต้นมันสําปะหลังแสดงอาการใบด่าง ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สํานักงานเกษตรอําเภอ หรือสํานักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านทันที

2. กําจัดต้นมันสําปะหลังที่เป็นโรคและแมลงหวี่ขาวยาสูบ

     - ถอนทําลายต้นที่เป็นโรค 

     - พ่นสารเคมีกําจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ ดังนี้

         - อิมิดาโครพริด 70 % WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตร หรือ 

         - ไดโนที่ฟูแรน 10% SL อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ํา 20 ลิตร หรือ 

         - ไทอะมีโทแซม 25% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตร

3. คัดเลือกท่อนพันธุ์สะอาด  ใช้ท่อนพันธุ์จากแปลงที่ไม่เคยเป็นโรค หรือใช้ท่อนพันธุ์ที่ทราบแหล่งที่มามีความน่าเชื่อถือ






ใหม่กว่า เก่ากว่า

نموذج الاتصال