เตือนการระบาดโรคไหม้ข้าว (ไหม้คอรวง)
เตือนการระบาดโรคไหม้ข้าว (ไหม้คอรวง)
เนื่องจากปัจจุบัน หลายพื้นที่มีฝนตกสลับกับแดดออก ทําให้สภาพอากาศตอนกลางวัน ร้อนตอนกลางคืนมีความชื้นสูง สภาพอากาศเหมาะแก่การเจริญของเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของ โรคไหม้ข้าว ซึ่งสามารถเป็นได้ทุกระยะการเจริญเติบโต หากเกิดโรคไหม้ข้าวในระยะออกรวง จะทําให้ข้าวเป็นโรคไหม้คอรวงหรือเน่าคอรวง ส่งผลต่อผลผลิต ทําให้เมล็ดลีบ เมล็ดด่าง คอรวงหักผลผลิตเสียหายได้ เกษตรกรควรหมั่นสํารวจแปลง หากพบโรคไหม้ควรรีบป้องกัน
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ
ลักษณะการเกิดโรคไหม้ข้าว เชื้อราสามารถเข้าทําลาย ข้าวในทุกส่วนของข้าวที่อยู่เหนือดินตั้งแต่ระยะกล้าไปจนถึง ระยะออกรวง โดยพบว่าเชื้อจะทําลายบริเวณใบและรวงมากที่สุด เมื่อเชื้อราเข้าไปทําลายที่ใบ จะทําให้ใบข้าวเป็นจุดน้ํา แผลจะ อาการไหมคอรวง เปลี่ยนเป็นสีน้ําตาลมีลักษณะคล้ายรูปตา หากเชื้อเข้าทําลายมาก จะทําให้ใบมีลักษณะไหม้คล้ายน้ําร้อนลวกและจะแห้งตายอย่างรวดเร็ว
การป้องกันกําจัด
๑. หมั่นตรวจแปลงนาอย่างสม่ําเสมอ เพื่อเฝ้าระวังโรคไหม้บริเวณภายใน
๒. ตัดหญ้าบริเวณคันนาเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรค
๓. ถ้าสํารวจพบการระบาดต้อง งดใส่ปุ๋ยเคมี
โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนข้าวจะอ่อนแอหากได้รับปุ๋ยจะทําให้การระบาดรุนแรงมากขึ้น
๔. เมื่อเริ่มพบอาการของโรคไหม้ ให้พ่นด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา ในอัตราเชื้อสด ๑ กก..
ผสมน้ํา ๒๐๐ ลิตร หรือ ๑ ถุง (น้ําหนัก ๒๕๐ กรัม) ผสมน้ํา ๕๐ ลิตร ผสมสารจับใบ เล็กน้อยแล้วฉีดพ่นนาข้าวทั้งแปลงเพื่อป้องกันและกําจัดเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ข้าว
ควรฉีดพ่นตอนเย็นในวันที่ไม่มีฝนตก
๕. หากพบการระบาดอย่างรุนแรง ให้ใช้สารเคมีฉีดพ่นบริเวณพื้นที่ระบาดเพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อราแพร่ กระจายขยายเป็นวงกว้าง ได้แก่
- อิดิเฟนฟอส ๕๐% EC อัตรา ๒๐-๒๕ ซีซี ต่อน้ํา ๒๐ ลิตร
- บลาสติซิดิน-เอส ๒% EC อัตรา ๒๐-๒๕ ซีซี ต่อน้ํา ๒๐ ลิตร
- ไตรไซคราโซล ๗๕9% WP อัตรา ๑๐-๑๖ กรัม ต่อน้ํา ๒๐ ลิตร
แสดงความคิดเห็น