เตือนการระบาดศัตรูพืชด้วงหนวดยาวอ้อย

เตือนการระบาดด้วงหนวดยาวอ้อย 




ด้วงหนวดยาว จัดเป็นแมลงศัตรูอ้อยที่สําคัญต่อการปลูกอ้อย โดยสามารถเข้าทําลายอ้อยตั้งแต่ระยะเริ่ม ปลูกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยหนอนของด้วงหนวดยาวจะเข้าไปในส่วนของลําต้นอ้อยที่อยู่ใต้ดิน ทําให้อ้อยแห้งตาย ในอ้อยปลูกหากพบด้วงหนวดยาวเข้าทําลายจะส่งผลให้ผลผลิตอ้อยลดลง 13-43 % และน้ําตาลลดลง 11-46 % ส่วนอ้อยตอปีที่ 1 จะสูญเสียผลผลิตประมาณ 45 % และน้ําตาลลดลง 57 %



ลักษณะการทําลาย

ในระยะเริ่มปลูกอ้อยหนอนจะเจาะชอนไชเข้าไปกัดกิน เนื้ออ้อยภายในท่อนพันธุ์ ทําให้อ้อยไม่สามารถงอกได้ หรือเมื่ออ้อย อายุ 3-4 เดือน เป็นช่วงเริ่มแตกกอ หนอนจะกัดกินบริเวณโคนอ้อย ที่ติดกับเหง้า ทําให้หน่ออ้อยแห้งตาย ส่วนในอ้อยโตเป็นลําจะพบว่า กาบใบและใบอ้อยแห้งมากกว่าปกติ ตั้งแต่ใบล่างจนแห้งตายไปทั้ง ต้นหรือทั้งกออ้อย โดยหนอนขนาดเล็กกัดกินบริเวณเหง้าอ้อย เมื่อหนอนโตขึ้นจะเริ่มเจาะไชส่วนโคนของลําอ้อยขึ้นไปเพื่อกินเนื้ออ้อย ทําให้ลําต้นอ้อยเป็นโพรงเหลือแต่เปลือก ซึ่งส่งผลให้ลําต้นอ้อยหักล้ม และแห้งตายได้

 

การป้องกันกําจัด

1. เมื่อมีการไถที่เตรียมดิน ควรเก็บตัวหนอนออกจากพื้นที่ 1-2 ครั้ง
2. การควบคุมแบบชีววิธีโดยการใช้เชื้อราเมตาไรเซียม โรยลงบนท่อนพันธุ์พร้อมการปลูกอ้อย ในอัตราส่วน 20 กก./ไร่ โดยเชื้อราจะสามารถอยู่ในดินและป้องกันตัวหนอนได้เป็นปี
3. แหล่งที่มีการระบาด ควรมีการมใช้สารฆ่าแมลงฟิโพรนิล (Ascend 5 % SC) ในอัตราส่วน 80 มิลลิลิตร/น้ํา 20 ลิตร ฉีดพ่นหลังวางท่อนพันธุ์ หรือไถคลุกตอนเตรียมดิน
4. ปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับการปลูกอ้อย เช่น มันสําปะหลัง สับปะรด ปอเทือง เป็นต้น
5. ช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนเป็นช่วงที่ด้วงหนวดยาวอ้อยเริ่มเป็น ตัวเต็มวัยควรขุดหลุมเพื่อดักจับ ประมาณ 40 หลุม/ไร่ โดยเพศเมีย จะปล่อยสารล่อเพศผู้ออกมา เพศผู้ก็จะเดินตาม เมื่อตกลงไปในหลุม ก็ไม่สามารถขึ้นได้ ควรรองก้นหลุมด้วยพลาสติก เพื่อป้องกันไม่ให้ตัว เต็มวัยไปวางไข่
6. ส่งเสริมให้มีการนําหนอนด้วงหนวดยาวไปประกอบเป็นอาหาร

ภาพจาก : kasetsanjorn.com

 

ข่าว : นายพรประสิทธิ์ โสสว่าง นักวิชาการสงเสริมการเกษตรชํานาญการ


ใหม่กว่า เก่ากว่า

نموذج الاتصال