ชื่อวิทยาศาสตร์ : ไรแดงหม่อน Teranychus truncatus Ehara
: ไรแดงมันสำปะหลัง Oligonychus biharensis Hirst
วงศ์ : Tetranychidae
อันดับ : Acariformes
ลักษณะอาการ
ไรแดงเป็นแมลงประเภทปากดูด อยู่รวมเป็นกลุ่มตามใต้ใบพืช ตัวเมียขยายพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ (Parthenogenesis) ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ชีพจักรสั้น ตัวเมียวางไข่ได้ 4 - 13 ฟอง วางไข่เป็นฟองเดี่ยว ระยะไข่ 4 - 5 วัน ตัวอ่อนมี 3 ระยะ ระยะแรกมี 6 ขา ระยะที่ 2 -3 มี 8 ขา รวมอายุ 6 - 10 วัน ตัวเต็มวัย มี 8 ขา อายุประมาณ 15 วัน ปกติไรแดงจะไม่ค่อยเคลื่อนไหว
ลักษณะการทำลาย
ไรแดงที่เข้าทำลายมันสำปะหลังมีอยู่ 2 ชนิด คือ ไรแดงหม่อน และไรแดงมันสำปะหลัง โดยไรแดงหม่อน ดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบ และขยายปริมาณขึ้นส่วนยอด ส่วนไรแดงมันสำปะหลัง ดูดกินน้ำเลี้ยงบนหลังใบของส่วนยอด และขยายปริมาณลงสู่ใบส่วนล่าง ทำให้ตาลีบ ใบเหลืองขีดม้วนงอและร่วงมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังถ้าการระบาดเกิดขึ้นในมันสำปะหลังที่ยังเล็กอาจทำให้ต้นมันสำปะหลังตายหรือทำให้การสร้างหัวของมันสำปะหลังลดลง
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้
1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่า ด้วงปีกสั้น และไรตัวห้ำ
2. หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังในช่วงฤดูแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน
3. หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากพบเก็บไปเผาทำลายนอกแปลง
4. เฉพาะกรณีจำเป็นต้องใช้สารเคมีอามีทราซ 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ให้พ่น
: ไรแดงมันสำปะหลัง Oligonychus biharensis Hirst
วงศ์ : Tetranychidae
อันดับ : Acariformes
ลักษณะอาการ
ไรแดงเป็นแมลงประเภทปากดูด อยู่รวมเป็นกลุ่มตามใต้ใบพืช ตัวเมียขยายพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ (Parthenogenesis) ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ชีพจักรสั้น ตัวเมียวางไข่ได้ 4 - 13 ฟอง วางไข่เป็นฟองเดี่ยว ระยะไข่ 4 - 5 วัน ตัวอ่อนมี 3 ระยะ ระยะแรกมี 6 ขา ระยะที่ 2 -3 มี 8 ขา รวมอายุ 6 - 10 วัน ตัวเต็มวัย มี 8 ขา อายุประมาณ 15 วัน ปกติไรแดงจะไม่ค่อยเคลื่อนไหว
ลักษณะการทำลาย
ไรแดงที่เข้าทำลายมันสำปะหลังมีอยู่ 2 ชนิด คือ ไรแดงหม่อน และไรแดงมันสำปะหลัง โดยไรแดงหม่อน ดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบ และขยายปริมาณขึ้นส่วนยอด ส่วนไรแดงมันสำปะหลัง ดูดกินน้ำเลี้ยงบนหลังใบของส่วนยอด และขยายปริมาณลงสู่ใบส่วนล่าง ทำให้ตาลีบ ใบเหลืองขีดม้วนงอและร่วงมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังถ้าการระบาดเกิดขึ้นในมันสำปะหลังที่ยังเล็กอาจทำให้ต้นมันสำปะหลังตายหรือทำให้การสร้างหัวของมันสำปะหลังลดลง
ไรแดงมันสำปะหลัง
ลักษณะของใบมันสำปะหลังที่ถูกไรแดงทำลาย
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้
1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่า ด้วงปีกสั้น และไรตัวห้ำ
2. หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังในช่วงฤดูแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน
3. หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากพบเก็บไปเผาทำลายนอกแปลง
4. เฉพาะกรณีจำเป็นต้องใช้สารเคมีอามีทราซ 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ให้พ่น
ไรแดงมันสำปะหลัง และการทำลาย
ขนาดของไรแดงมันสำปะหลัง
ลักษณะอาการของใบมันสำปะหลังเป็นขีดเหลืองหลังจากถูกไรแดงทำลาย