วงศ์ : Pseudococcus
อันดับ : Homoptera
การขยายพันธุ์เพลี้ยแป้ง
1. โดยใช้เพศ
2. โดยไม่ใช้เพศ (Thelytokous parthenogenesis)
แบ่งเพลี้ยแป้งตามลักษณะของลูกที่ออกมาเป็น 2 ประเภท
1. ประเภทวางไข่ (Oviparous) ไข่อยู่ภายในถุงไข่ที่มีเส้นใย คล้ายสำลีปกคลุม
2. ประเภทออกลูกเป็นตัว ( Viviparous)
ชนิดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
เพลี้ยแป้งที่พบในต้นมันสำปะหลังในประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ชนิด (อัมพร วิโนทัย, กรมวิชาการเกษตร)
รูปร่างลักษณะ
1. เพลี้ยแป้งลาย (Striped mealybug ) : Ferrisia virgate
ลำตัวตัวคล้ายลิ่ม ผนังลำตัวสีเทาเข้มมีผงแป้งปกคลุมลำตัว เส้นขนขึ้นหนาแน่น ขนที่ปกคลุมลำตัวเป็นเงาคล้ายใยแก้วมี แถบดำบนลำตัว 2 แถบ ชัดเจนส่วนปลายมีหางคล้ายเส้นแป้ง 2 เส้น ยาวครึ่งหนึ่งของลำตัวเพลี้ยแป้งชนิดนี้พบระบาดทั่วไปในพื้นที่
ปลูกมันสำปะหลัง พบระบาดมากในช่วงฤดูฝน ระดับความรุนแรงไม่ถึงขั้นทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการควบคุม
โดยศัตรูตามธรรมชาติอย่างสมดุลจากตัวห้ำและตัวเบียน
2. เพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์ (Jackbeard) : Pseudococcus jackbeardsleyi
ลำตัวรูปไข่ค่อนข้างแบน ผนังลำตัวสีเทาอมชมพูมีผงแป้งสีข้าวปกคลุมลำตัว ด้านข้างลำตัวมีเส้นแป้งเรียงกันจำนวนมาก
เส้นแป้งด้านท้ายลำตัวยาวกว่าเส้นแป้งด้านข้างลำตัว พบระบาดทั่วไปในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ชอบอยู่บริเวณโคนต้นหรือในดิน
3. เพลี้ยแป้งสีเขียว (Green mealybug) : Phenacoccus madeirensis
ลำตัวรูปไข่ค่อนข้างแบน ผนังลำตัวสีเขียวอมเหลืองมีผงแป้งสีขาวบาง ๆ ปกคลุมลำตัว ด้านข้างลำตัวมีเส้นแป้งสั้นๆ เส้น
แป้งด้านท้ายลำตัวยาวกว่าเส้นแป้งด้านข้างลำตัวและที่ลำตัวมีสันนูน 3 แนว ตามความยาวลำตัวเส้นนูนที่สุดอยู่กลางลำตัวสามารถวาง
ไข่ได้ประมาณ 500 ฟอง/ตัว ตัวเต็มวัยชอบกินใบแก่ พบระบาดทั่วไปในแหล่งปลูกมันสำปะหลัง
4. เพลี้ยแป้งสีชมพู (Pinkish mealybug ) : Phenacoccus manihoti
เป็นเพลี้ยแป้งที่ระบาดทำลายมันสำปะหลังรุนแรงในขณะนี้ ลำตัวรูปไข่ผนังลำตัวสีชมพู มีผงแป้งปกคลุมลำตัวด้านข้าง
ลำตัวมีเส้นแป้งสั้นหรือไม่เห็นเด่นชัด เส้นแป้งด้านท้ายลำตัวสั้น ขยายพันธุ์ได้โดยไม่อาศัยเพศ เพศเมียไม่จำเป็นต้องได้รับการผสม
พันธุ์จากเพศผู้) วางไข่เป็นฟองเล็ก ๆ ในถุง ไข่มีสีเหลืองอ่อนลักษณะยาวรีมีใยคล้ายสำลีหุ้มไว้ เมื่อใกล้ฝักไข่จะมีสีเข้มขึ้น ระยะไข่
ประมาณ 8 วัน ตัวอ่อนจะลอกคราบ 3 ครั้ง จึงเป็นตัวเต็มวัย รวมระยะเวลาตั้งแต่เป็นไข่จนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 21 วัน เพลี้ยแป้งสีชมพู
สามารถวางไข่ได้มากถึง 500 ฟอง/ตัว
ลักษณะการทำลาย
ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยมันสำปะหลัง จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอด ใบ และลำต้น ทำให้ต้นของมันสำปะหลังที่ถูก
เพลี้ยแป้งเข้าทำลาย จะชะงักการเจริญเติบโต ยอดหงิกเป็นพุ่ม ลำต้นบิดเบี้ยวโค้งงอ มีช่วงข้อถี่ เล็กแคระแกร็น และลำต้นแห้งตายใน
ที่สุดนอกจากนี้เพลี้ยแป้งยังขับถ่ายมูลหวานซึ่งทำให้เกิดเชื้อราดำบริเวณใบที่อยู่ข้างล่างของมันสำปะหลังลดการสังเคราะห์แสง ทำให้
ผลผลิตลดลง
ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้ง
ตัวห้ำ : แมลงช้างปีกใส (Pleciocryza ramburi)
ตัวเบียน : แตนเบียน (Anagyrus lopezi)
เชื้อจุลินทรีย์ : เชื้อราบิวเวอเรีย
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้
1. ในพื้นที่ที่ยังไม่พบการระบาด
1. ใช้ท่อนพันธุ์สะอาด
2. เก็บซากพืชออกจากแปลง ไถพรวนหลายๆครั้ง และตากดินอย่างน้อย 14 วัน
3. แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีที่แนะนำ
4. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์
2. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง
1. หลีกเลี่ยงการปลูกในฤดูแล้ง
2. ไถพรวนดินหลายๆ ครั้ง ตากดินอย่างน้อย 14 วัน
3. แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีที่แนะนำ
4. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์
5. ถ้าพบการระบาด รุนแรงในมันสำปะหลังอายุ 1-4 เดือนให้ถอนทิ้งทั้งหมดแล้วเผาทำลายนอกแปลง
6. ถ้าพบการระบาดในมันสำปะหลังอายุ 4 - 8 เดือน ให้ตัดยอดหรือถอนต้นที่พบนำไปเผาทำลายนอกแปลง
7. ถ้าพบการระบาดในมันอายุมากกว่า 8 เดือน ควรเก็บผลผลิต ตัดต้นทิ้งนำไปเผาทำลายนอกแปลง ทำความสะอาด
แปลงปลูกพืชอื่น เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง ทานตะวัน พืชตระกูลถั่ว
8. ใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมเพลี้ยแป้ง เช่น แมลงช้างปีกใส ด้วงเต่า แตนเบียน หรือศัตรูธรรมชาติที่กรมวิชาการเกษตร
แนะนำ
9. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไม้ให้ตัวห้ำและตัวเบียนที่เป็นศัตรูธรรมชาติของ
เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังถูกทำลาย
10. ใช้วิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน
สารเคมีป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง
การแช่ท่อนพันธุ์ ก่อนการปลูกด้วยสารฆ่าแมลง 5-10 นาที
- thiamethoxam (Actara 25 % WG) อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
- imidacloprid (Provado 70 % WG) อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
- dinotefuran (Starkle 10 % WP) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
อันดับ : Homoptera
การขยายพันธุ์เพลี้ยแป้ง
1. โดยใช้เพศ
2. โดยไม่ใช้เพศ (Thelytokous parthenogenesis)
แบ่งเพลี้ยแป้งตามลักษณะของลูกที่ออกมาเป็น 2 ประเภท
1. ประเภทวางไข่ (Oviparous) ไข่อยู่ภายในถุงไข่ที่มีเส้นใย คล้ายสำลีปกคลุม
2. ประเภทออกลูกเป็นตัว ( Viviparous)
ชนิดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
เพลี้ยแป้งที่พบในต้นมันสำปะหลังในประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ชนิด (อัมพร วิโนทัย, กรมวิชาการเกษตร)
รูปร่างลักษณะ
1. เพลี้ยแป้งลาย (Striped mealybug ) : Ferrisia virgate
ลำตัวตัวคล้ายลิ่ม ผนังลำตัวสีเทาเข้มมีผงแป้งปกคลุมลำตัว เส้นขนขึ้นหนาแน่น ขนที่ปกคลุมลำตัวเป็นเงาคล้ายใยแก้วมี แถบดำบนลำตัว 2 แถบ ชัดเจนส่วนปลายมีหางคล้ายเส้นแป้ง 2 เส้น ยาวครึ่งหนึ่งของลำตัวเพลี้ยแป้งชนิดนี้พบระบาดทั่วไปในพื้นที่
ปลูกมันสำปะหลัง พบระบาดมากในช่วงฤดูฝน ระดับความรุนแรงไม่ถึงขั้นทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการควบคุม
โดยศัตรูตามธรรมชาติอย่างสมดุลจากตัวห้ำและตัวเบียน
2. เพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์ (Jackbeard) : Pseudococcus jackbeardsleyi
ลำตัวรูปไข่ค่อนข้างแบน ผนังลำตัวสีเทาอมชมพูมีผงแป้งสีข้าวปกคลุมลำตัว ด้านข้างลำตัวมีเส้นแป้งเรียงกันจำนวนมาก
เส้นแป้งด้านท้ายลำตัวยาวกว่าเส้นแป้งด้านข้างลำตัว พบระบาดทั่วไปในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ชอบอยู่บริเวณโคนต้นหรือในดิน
3. เพลี้ยแป้งสีเขียว (Green mealybug) : Phenacoccus madeirensis
ลำตัวรูปไข่ค่อนข้างแบน ผนังลำตัวสีเขียวอมเหลืองมีผงแป้งสีขาวบาง ๆ ปกคลุมลำตัว ด้านข้างลำตัวมีเส้นแป้งสั้นๆ เส้น
แป้งด้านท้ายลำตัวยาวกว่าเส้นแป้งด้านข้างลำตัวและที่ลำตัวมีสันนูน 3 แนว ตามความยาวลำตัวเส้นนูนที่สุดอยู่กลางลำตัวสามารถวาง
ไข่ได้ประมาณ 500 ฟอง/ตัว ตัวเต็มวัยชอบกินใบแก่ พบระบาดทั่วไปในแหล่งปลูกมันสำปะหลัง
4. เพลี้ยแป้งสีชมพู (Pinkish mealybug ) : Phenacoccus manihoti
เป็นเพลี้ยแป้งที่ระบาดทำลายมันสำปะหลังรุนแรงในขณะนี้ ลำตัวรูปไข่ผนังลำตัวสีชมพู มีผงแป้งปกคลุมลำตัวด้านข้าง
ลำตัวมีเส้นแป้งสั้นหรือไม่เห็นเด่นชัด เส้นแป้งด้านท้ายลำตัวสั้น ขยายพันธุ์ได้โดยไม่อาศัยเพศ เพศเมียไม่จำเป็นต้องได้รับการผสม
พันธุ์จากเพศผู้) วางไข่เป็นฟองเล็ก ๆ ในถุง ไข่มีสีเหลืองอ่อนลักษณะยาวรีมีใยคล้ายสำลีหุ้มไว้ เมื่อใกล้ฝักไข่จะมีสีเข้มขึ้น ระยะไข่
ประมาณ 8 วัน ตัวอ่อนจะลอกคราบ 3 ครั้ง จึงเป็นตัวเต็มวัย รวมระยะเวลาตั้งแต่เป็นไข่จนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 21 วัน เพลี้ยแป้งสีชมพู
สามารถวางไข่ได้มากถึง 500 ฟอง/ตัว
ลักษณะการทำลาย
ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยมันสำปะหลัง จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอด ใบ และลำต้น ทำให้ต้นของมันสำปะหลังที่ถูก
เพลี้ยแป้งเข้าทำลาย จะชะงักการเจริญเติบโต ยอดหงิกเป็นพุ่ม ลำต้นบิดเบี้ยวโค้งงอ มีช่วงข้อถี่ เล็กแคระแกร็น และลำต้นแห้งตายใน
ที่สุดนอกจากนี้เพลี้ยแป้งยังขับถ่ายมูลหวานซึ่งทำให้เกิดเชื้อราดำบริเวณใบที่อยู่ข้างล่างของมันสำปะหลังลดการสังเคราะห์แสง ทำให้
ผลผลิตลดลง
ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้ง
ตัวห้ำ : แมลงช้างปีกใส (Pleciocryza ramburi)
ตัวเบียน : แตนเบียน (Anagyrus lopezi)
เชื้อจุลินทรีย์ : เชื้อราบิวเวอเรีย
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้
1. ในพื้นที่ที่ยังไม่พบการระบาด
1. ใช้ท่อนพันธุ์สะอาด
2. เก็บซากพืชออกจากแปลง ไถพรวนหลายๆครั้ง และตากดินอย่างน้อย 14 วัน
3. แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีที่แนะนำ
4. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์
2. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง
1. หลีกเลี่ยงการปลูกในฤดูแล้ง
2. ไถพรวนดินหลายๆ ครั้ง ตากดินอย่างน้อย 14 วัน
3. แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีที่แนะนำ
4. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์
5. ถ้าพบการระบาด รุนแรงในมันสำปะหลังอายุ 1-4 เดือนให้ถอนทิ้งทั้งหมดแล้วเผาทำลายนอกแปลง
6. ถ้าพบการระบาดในมันสำปะหลังอายุ 4 - 8 เดือน ให้ตัดยอดหรือถอนต้นที่พบนำไปเผาทำลายนอกแปลง
7. ถ้าพบการระบาดในมันอายุมากกว่า 8 เดือน ควรเก็บผลผลิต ตัดต้นทิ้งนำไปเผาทำลายนอกแปลง ทำความสะอาด
แปลงปลูกพืชอื่น เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง ทานตะวัน พืชตระกูลถั่ว
8. ใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมเพลี้ยแป้ง เช่น แมลงช้างปีกใส ด้วงเต่า แตนเบียน หรือศัตรูธรรมชาติที่กรมวิชาการเกษตร
แนะนำ
9. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไม้ให้ตัวห้ำและตัวเบียนที่เป็นศัตรูธรรมชาติของ
เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังถูกทำลาย
10. ใช้วิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน
สารเคมีป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง
การแช่ท่อนพันธุ์ ก่อนการปลูกด้วยสารฆ่าแมลง 5-10 นาที
- thiamethoxam (Actara 25 % WG) อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
- imidacloprid (Provado 70 % WG) อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
- dinotefuran (Starkle 10 % WP) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร