เชื้อสาเหต : เชื้อรา Phytophthora spp.
วงศ์ : Pythiaceae
อันดับ : Peronosporales
ลักษณะอาการ
ลักษณะอาการที่สามารถมองเห็นได้จากความผิดปกติของต้นมันสำปะหลัง ส่วนที่อยู่เหนือดินพบว่า ใบมันสำปะหลังแสดงอาการเหี่ยวเหลือง (มันสำปะหลังเบอร์ 98 แสดงอาการชัดเจน) โคนต้นแสดงอาการเน่าเป็นสีน้ำตาลหรือดำหรือบางต้นมีการสร้างรากค้ำชู (Adventitious root) ขึ้นตรงรอยแตกของโคนต้น (มันสำปะหลังเบอร์ 89 แสดงอาการชัดเจน)และเมื่อถอนขึ้นมาหัวมันสำปะหลัง
แสดงอาการเน่า ถ้าผ่าหรือหักหัวมันดูจะเห็นภายในเป็นสีน้ำตาล ในบางพันธุ์ต้นมันอาจมีการเน่าที่โคนและส่วนของหัวใต้ดินโดยที่ส่วนลำต้นและใบยังคงมีลักษณะปกติ หรือบางพันธุ์แสดงอาการรุนแรง ยืนต้นตายหรือเน่าตาย ดังนั้น การสำรวจจึงมีความจำเป็นต้องเดินลงไปสำรวจในแปลงต้องถอนต้นมันสำปะหลังขึ้นมาดู เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงอย่างรวดเร็ว ก่อนที่การระบาดจะแพร่กระจายออกไป
จนยากที่จะจัดการได้
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้
1. ก่อนการปลูก เก็บเศษเหง้า หรือเศษซากมันสำปะหลังเผาทำลายทิ้งทำความสะอาดเครื่องจักรกลการเกษตร ควรมีการไถตากดินอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราเมทาแล็คซิล อัตรา 20 - 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร รวมถึงการใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาไปหว่านในช่วงการเตรียมดินก่อนปลูก
2. สำรวจติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ช่วงฝนชุกควรตรวจแปลงทุกวัน พบการระบาดให้ขุดถอนต้นที่แสดงอาการไปเผาทำลายจากนั้นบริเวณที่แสดงอาการและโดยรอบห่างออกไปประมาณ 1 เมตร ให้หว่านปูนขาว หรือโรยเชื้อเชื้อราไตรโครเดอร์มาบริเวณรอบโคนต้นที่ขุดออกหรือกรณีระบาดรุนแรงมากใช้สารเคมีฟอสอีทิล อลูมิเนียม อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ราดต้นละ 300 ซีซี หรือพ่นอัตรา 150 กรัมต่อไร่
3. หลังการระบาดหรือก่อนปลูกใหม แปลงที่เคยระบาดน้อยหรือปานกลางควรเลื่อนฤดูปลูกเป็นปลายฝนเพื่อให้ผลผลิตออกในฤดูแล้ง เลือกใช้พันธุ์ให้เหมาะกับพื้นที่กำจัดซากพืชออกให้หมดไถระเบิดดินดานและตากดินหว่านปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน แช่ท่อนพันธุ์ป้องกันเชื้อราก่อนปลูก
** ถ้าแปลงที่เคยปลูกเสียหายมากกว่าครึ่งหรือมากกว่าร้อยละ 50 ต้องเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น เช่น อ้อย และข้าว
วงศ์ : Pythiaceae
อันดับ : Peronosporales
ลักษณะอาการ
ลักษณะอาการที่สามารถมองเห็นได้จากความผิดปกติของต้นมันสำปะหลัง ส่วนที่อยู่เหนือดินพบว่า ใบมันสำปะหลังแสดงอาการเหี่ยวเหลือง (มันสำปะหลังเบอร์ 98 แสดงอาการชัดเจน) โคนต้นแสดงอาการเน่าเป็นสีน้ำตาลหรือดำหรือบางต้นมีการสร้างรากค้ำชู (Adventitious root) ขึ้นตรงรอยแตกของโคนต้น (มันสำปะหลังเบอร์ 89 แสดงอาการชัดเจน)และเมื่อถอนขึ้นมาหัวมันสำปะหลัง
แสดงอาการเน่า ถ้าผ่าหรือหักหัวมันดูจะเห็นภายในเป็นสีน้ำตาล ในบางพันธุ์ต้นมันอาจมีการเน่าที่โคนและส่วนของหัวใต้ดินโดยที่ส่วนลำต้นและใบยังคงมีลักษณะปกติ หรือบางพันธุ์แสดงอาการรุนแรง ยืนต้นตายหรือเน่าตาย ดังนั้น การสำรวจจึงมีความจำเป็นต้องเดินลงไปสำรวจในแปลงต้องถอนต้นมันสำปะหลังขึ้นมาดู เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงอย่างรวดเร็ว ก่อนที่การระบาดจะแพร่กระจายออกไป
จนยากที่จะจัดการได้
อาการเหี่ยวเหลืองใบร่วง
อาการยืนต้นตาย
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้
1. ก่อนการปลูก เก็บเศษเหง้า หรือเศษซากมันสำปะหลังเผาทำลายทิ้งทำความสะอาดเครื่องจักรกลการเกษตร ควรมีการไถตากดินอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราเมทาแล็คซิล อัตรา 20 - 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร รวมถึงการใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาไปหว่านในช่วงการเตรียมดินก่อนปลูก
2. สำรวจติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ช่วงฝนชุกควรตรวจแปลงทุกวัน พบการระบาดให้ขุดถอนต้นที่แสดงอาการไปเผาทำลายจากนั้นบริเวณที่แสดงอาการและโดยรอบห่างออกไปประมาณ 1 เมตร ให้หว่านปูนขาว หรือโรยเชื้อเชื้อราไตรโครเดอร์มาบริเวณรอบโคนต้นที่ขุดออกหรือกรณีระบาดรุนแรงมากใช้สารเคมีฟอสอีทิล อลูมิเนียม อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ราดต้นละ 300 ซีซี หรือพ่นอัตรา 150 กรัมต่อไร่
3. หลังการระบาดหรือก่อนปลูกใหม แปลงที่เคยระบาดน้อยหรือปานกลางควรเลื่อนฤดูปลูกเป็นปลายฝนเพื่อให้ผลผลิตออกในฤดูแล้ง เลือกใช้พันธุ์ให้เหมาะกับพื้นที่กำจัดซากพืชออกให้หมดไถระเบิดดินดานและตากดินหว่านปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน แช่ท่อนพันธุ์ป้องกันเชื้อราก่อนปลูก
มีการสร้างรากค้ำชู
รอยแตกและเมื่อถอนขึ้นมาหัวแสดงอาการเน่า
** ถ้าแปลงที่เคยปลูกเสียหายมากกว่าครึ่งหรือมากกว่าร้อยละ 50 ต้องเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น เช่น อ้อย และข้าว