ด้วงแรดระยะตัวเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูพืช โดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมัน ทำให้ทางใบหักง่ายและยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อนทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยมถ้าต้นพืชถูกทำลาย ทำลายมากๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกร็น รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดนั้นเป็นเนื้อเยื่ออ่อน จึงเป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าวเขามา วางไข่ หรือทำให้เกิดโรคยอดเน่าจนทำให้ต้นพืชตายได้ในที่สุด
ด้วงแรดมีอายุยืนยาวหลายเดือนและมีการผสมพันธุ์หลายครั้ง ด้วงแรดเพศเมียจะรับการผสมพันธุ์และวางไข่เมื่อออกจากดักแด้แล้ว 40 - 50 วัน และเมื่อได้รับการผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวจะสามารถวางไข่ที่สมบูรณ์ได้นานถึง 130 วัน ปกติวางไข่ครั้งละ 10 - 30 ฟองสูงสุดประมาณ 152 ฟองโดยด้วงแรดชอบวางไข่ในที่ที่มีความชื้นพอเหมาะอุณหภูมิระหว่าง 20 - 30 องศาเซลเซีลเซียส
ด้วงแรดมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ และวางไข่ตามซากเน่าเปื่อยของลำต้นหรือตอของต้นมะพร้าว ปาล์มน้ำมันซากพืชที่เน่าเปื่อย เช่น ซากเปลือกมะพร้าว และทะลายปาล์ม กองมูลสัตว์เก่า กองปุ๋ยคอก กองปุ๋ยหมัก กองขุยมะพร้าว กองขี้เลื่อย กองกากเมล็ดกาแฟ และ กองขยะ เพื่อให้หนอนวัยต่างๆ มีอาหารเพียงพอจนถึงระยะดักแด้และเป็นตัวเต็มวัย ดังนั้น มาตรการการจัดการด้วงแรดจึงเน้นที่จัดการกับแหล่งผสมพันธุ์และแหล่งวางไข่ตามสถานที่ต่างๆ ดังนี้
1. สำรวจบริเวณที่เป็นแหล่งผสมพันธุ์และวางไข่ดังกล่าวข้างต้น โดยการคุ้ยดูใต้กอง หากพบตัวหนอนด้วงแรดให้จับทำลายทันที และเกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออกโดยมีความสูงไม่เกิน 15 ซม. เพื่อป้องกันการวางไข่
2. เกลี่ยกองทลายปาล์ม หรือเศษซากพืชที่ใช้คลุมโคนต้น เพื่อรักษาความชื้นในช่วงแล้ง ให้สูงไม่เกิน 15 ซม. โดยเฉพาะฤดูผสมพันธุ์ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
3. ใส่เชื้อราเมตาไรเซียมตามกองซากพืช กองมูลสัตว์ที่อยู่ตามสวนมะพร้าว และสวนปาล์มที่เริ่มมีการย่อยสลายแล้ว อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี โดยสามารถติดต่อของเชื้อราเมตาไรเซียมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช
4. หากพบการทำลายของด้วงแรดในต้นพืช ให้ใช้กับดักฟีโรโมนล่อตัวเต็มวัยเพื่อจับทำลาย หรือใช้ผสมผสานกันระหว่างกับดักฟีโรโมนและการทำกองล่อ
1.1 เผาหรือฝังซากลำต้นหรือตอของมะพร้าว
1.2 เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออกโดยมีความสูงไม่เกิน 15 ซม.
1.3 ถ้ามีความจำเป็นต้องกองมูลสัตว์นานเกินกว่า 2 - 3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกอง หรือนำใส่ในถุงปุ๋ยผูกปากให้แน่นและนำไปเรียงซ้อนกันไว้
2. การควบคุมโดยวิธีกล ทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าวหรือปาล์มตามโคนทางใบสม่ำเสมอ หากพบรอยแผล เป็นรูใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงแรดเพื่อกำจัดตัวเต็มวัยของด้วงแรด
3. ควบคุมโดยชีววิธี ใช้เชื้อราเมตาไรเซียมโดยทำกองล่อ ดังนี้
3.1 ใช้ต้นมะพร้าวตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 2 เมตร จำนวน 8 ท่อน ทำขอบด้วยการวางท่อนมะพร้าวให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 2 ชั้น หรือการใช้ท่อนมะพร้าวทำขอบชั้นเดียว
3.2 ขุดดินภายในกองให้ลึกประมาณ 0.5 เมตร แล้วใส่ขี้เลื่อย หรือขุยมะพร้าวผสมเศษหญ้าแห้งและปุ๋ยคอกให้เต็มกองล่อ การเติมมูลวัวในกองล่อสามารถล่อให้ตัวเต็มวัยของด้วงแรดมะพร้าวมาวางไข่ได้เป็นจำนวนมาก
3.3 รดน้ำเพิ่มความชื้นในกองล่อ เพื่อให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี หาวัสดุคลุมกองล่อเช่นทางมะพร้าวหรือเศษใบไม้ เพื่อรักษาความชื้นในกองล่อ
3.4 หลังการทำกองล่อ 2 - 3 เดือน ตรวจปริมาณหนอน จะเริ่มพบด้วงแรดมาวางไข่ และเจริญเป็นตัวหนอนเมื่อพบหนอนด้วงแรด ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมในอัตรา 400 กรัมต่อกองล่อ คลุกผสมลงในกองล่อให้ทั่ว เชื้อราเขียวในกล่องล่อจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนด้วงแรดมะพร้าวได้นานประมาณ 6 - 12 เดือน
2. หลีกเลี่ยงการใช้ในช่วงที่มีแสงแดดจัดเช่นเวลากลางวัน ควรใช้ช่วงเวลาเย็น พลบค่ำหรือหลังพระอาทิตย์ตก
3. ผู้ใช้ควรสวมเครื่องป้องกัน เช่น ใช้ผ้าปิดปากและจมูก เพื่อหลีกเลี่ยงการสูดหายใจเอาละอองเชื้อเข้าระบบทางเดินหายใจ สำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อาจทำให้เกิดอาการผื่นคันได้
4. ใช้กับดักฟีโลโมน ล่อตัวเต็มวัยแล้วจับทำลาย เพื่อลดการขยายพันธุ์และประชากรด้วงแรดในรุ่นต่อไปปัจจุบัน สามารถสังเคราะห์ฟีโรโมนด้วงแรดผลิตในรูปการค้าได้แล้ว มีอายุการใช้งานประมาณ 2 - 3 เดือน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ถ้าอุณหภมิสูงฟีโรโมนจะระเหยเร็ว ลักษณะของกับดักฟีโรโมนประกอบด้วยถังพลาสติก และสังกะสีแผ่นเรียบสีดำประกอบกันดังรูป เมื่อด้วงแรดเมื่อด้วงแรดได้กลิ่นฟีโรโมนจะบินเข้าหาต้นกำเนิดเมื่อมาถึงกับดักจะชนแผ่นเรียบเหนือถัง และตกลงในถังเก็บทำลายได้โดย 1 กับดัก
สามารถใช้ใด้กับพื้นที่ 10 - 12 ไร่
เอกสารอ้างอิง : กรมวิชาการเกษตร. 2556. เอกสารประกอบการอบรมเรื่อง การจัดการแมลงศัตรูมะพร้าวที่เกาะสมุย.
ด้วงแรดมีอายุยืนยาวหลายเดือนและมีการผสมพันธุ์หลายครั้ง ด้วงแรดเพศเมียจะรับการผสมพันธุ์และวางไข่เมื่อออกจากดักแด้แล้ว 40 - 50 วัน และเมื่อได้รับการผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวจะสามารถวางไข่ที่สมบูรณ์ได้นานถึง 130 วัน ปกติวางไข่ครั้งละ 10 - 30 ฟองสูงสุดประมาณ 152 ฟองโดยด้วงแรดชอบวางไข่ในที่ที่มีความชื้นพอเหมาะอุณหภูมิระหว่าง 20 - 30 องศาเซลเซีลเซียส
ตัวเต็มวัยมีอายุ 90 - 120 วัน ระยะไข่ 10 - 12 วัน
ระยะดักแด้ 23 - 28 วัน ระยะหนอน 80 - 150 วัน
1. สำรวจบริเวณที่เป็นแหล่งผสมพันธุ์และวางไข่ดังกล่าวข้างต้น โดยการคุ้ยดูใต้กอง หากพบตัวหนอนด้วงแรดให้จับทำลายทันที และเกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออกโดยมีความสูงไม่เกิน 15 ซม. เพื่อป้องกันการวางไข่
2. เกลี่ยกองทลายปาล์ม หรือเศษซากพืชที่ใช้คลุมโคนต้น เพื่อรักษาความชื้นในช่วงแล้ง ให้สูงไม่เกิน 15 ซม. โดยเฉพาะฤดูผสมพันธุ์ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
3. ใส่เชื้อราเมตาไรเซียมตามกองซากพืช กองมูลสัตว์ที่อยู่ตามสวนมะพร้าว และสวนปาล์มที่เริ่มมีการย่อยสลายแล้ว อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี โดยสามารถติดต่อของเชื้อราเมตาไรเซียมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช
4. หากพบการทำลายของด้วงแรดในต้นพืช ให้ใช้กับดักฟีโรโมนล่อตัวเต็มวัยเพื่อจับทำลาย หรือใช้ผสมผสานกันระหว่างกับดักฟีโรโมนและการทำกองล่อ
รายละเอียดวิธีป้องกันกำจัด
1. การควบคุมโดยวิธีเขตกรรม คือการกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด ลงทุนน้อย และสะดวกเพราะอยู่บนพื้นดิน สามารถกำจัดไข่ หนอน ดักแด้และตัวเต็มวัย ไม่ให้เพิ่มปริมาณได้ โดยยึดหลักปฏิบัติดังนี้1.1 เผาหรือฝังซากลำต้นหรือตอของมะพร้าว
1.2 เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออกโดยมีความสูงไม่เกิน 15 ซม.
1.3 ถ้ามีความจำเป็นต้องกองมูลสัตว์นานเกินกว่า 2 - 3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกอง หรือนำใส่ในถุงปุ๋ยผูกปากให้แน่นและนำไปเรียงซ้อนกันไว้
2. การควบคุมโดยวิธีกล ทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าวหรือปาล์มตามโคนทางใบสม่ำเสมอ หากพบรอยแผล เป็นรูใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงแรดเพื่อกำจัดตัวเต็มวัยของด้วงแรด
3. ควบคุมโดยชีววิธี ใช้เชื้อราเมตาไรเซียมโดยทำกองล่อ ดังนี้
3.1 ใช้ต้นมะพร้าวตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 2 เมตร จำนวน 8 ท่อน ทำขอบด้วยการวางท่อนมะพร้าวให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 2 ชั้น หรือการใช้ท่อนมะพร้าวทำขอบชั้นเดียว
3.2 ขุดดินภายในกองให้ลึกประมาณ 0.5 เมตร แล้วใส่ขี้เลื่อย หรือขุยมะพร้าวผสมเศษหญ้าแห้งและปุ๋ยคอกให้เต็มกองล่อ การเติมมูลวัวในกองล่อสามารถล่อให้ตัวเต็มวัยของด้วงแรดมะพร้าวมาวางไข่ได้เป็นจำนวนมาก
3.3 รดน้ำเพิ่มความชื้นในกองล่อ เพื่อให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี หาวัสดุคลุมกองล่อเช่นทางมะพร้าวหรือเศษใบไม้ เพื่อรักษาความชื้นในกองล่อ
3.4 หลังการทำกองล่อ 2 - 3 เดือน ตรวจปริมาณหนอน จะเริ่มพบด้วงแรดมาวางไข่ และเจริญเป็นตัวหนอนเมื่อพบหนอนด้วงแรด ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมในอัตรา 400 กรัมต่อกองล่อ คลุกผสมลงในกองล่อให้ทั่ว เชื้อราเขียวในกล่องล่อจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนด้วงแรดมะพร้าวได้นานประมาณ 6 - 12 เดือน
ข้อควรระวังในการใช้เชื้อราเมตาไรเซียม
1. ราเขียวเมตาไรเซียมต้องการความชื้นสูงในการงอก จึงควรเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ในช่วงฤดูฝน หรือปลายฝนต้นหนาว2. หลีกเลี่ยงการใช้ในช่วงที่มีแสงแดดจัดเช่นเวลากลางวัน ควรใช้ช่วงเวลาเย็น พลบค่ำหรือหลังพระอาทิตย์ตก
3. ผู้ใช้ควรสวมเครื่องป้องกัน เช่น ใช้ผ้าปิดปากและจมูก เพื่อหลีกเลี่ยงการสูดหายใจเอาละอองเชื้อเข้าระบบทางเดินหายใจ สำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อาจทำให้เกิดอาการผื่นคันได้
4. ใช้กับดักฟีโลโมน ล่อตัวเต็มวัยแล้วจับทำลาย เพื่อลดการขยายพันธุ์และประชากรด้วงแรดในรุ่นต่อไปปัจจุบัน สามารถสังเคราะห์ฟีโรโมนด้วงแรดผลิตในรูปการค้าได้แล้ว มีอายุการใช้งานประมาณ 2 - 3 เดือน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ถ้าอุณหภมิสูงฟีโรโมนจะระเหยเร็ว ลักษณะของกับดักฟีโรโมนประกอบด้วยถังพลาสติก และสังกะสีแผ่นเรียบสีดำประกอบกันดังรูป เมื่อด้วงแรดเมื่อด้วงแรดได้กลิ่นฟีโรโมนจะบินเข้าหาต้นกำเนิดเมื่อมาถึงกับดักจะชนแผ่นเรียบเหนือถัง และตกลงในถังเก็บทำลายได้โดย 1 กับดัก
สามารถใช้ใด้กับพื้นที่ 10 - 12 ไร่
เอกสารอ้างอิง : กรมวิชาการเกษตร. 2556. เอกสารประกอบการอบรมเรื่อง การจัดการแมลงศัตรูมะพร้าวที่เกาะสมุย.